โรคโคนเน่า/โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นโรคที่มักพบการระบาดอย่างมากในหน้าฝน โดยสาเหตุหลักเกิดจากการจัดการพื้นที่ปลูกไม่ดีหรือดินที่ปลูกขาดการระบายน้ำที่ดี ทำให้เกิดเป็นพื้นที่น้ำขังหรือดินอุ้มน้ำ จึงเหมาะกับเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคเน่าเละได้ โดยในบางกรณีอาจเกิดการเข้าทำลายซ้ำซ้อนจากเชื้อราชนิดอื่นร่วมด้วย
ความเสียหายของโรคนี้จะทวีคูณขึ้นเมื่อพื้นที่ปลูกเกิดบริเวณน้ำท่วมขังในช่วงที่หัวมันสำปะหลังกำลังสะสมแป้ง ส่งผลให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลงในท้ายที่สุด
การป้องกันและกำจัด
– ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่แสดงอาการเน่าหรืออาการของโรค
– ควรจัดการแปลงปลูกให้ระบายน้ำได้ดี หากดินบริเวณที่ปลูกเป็นดินอุ้มน้ำ ควรทำการปลูกแบบยกร่อง
หากพบการระบาดของโรค ให้กำจัดออกจากแปลงปลูกในทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังต้นอื่นๆ
อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก ผศ. ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช
